astore by amazon.com

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบลักษณะโคเนื้อที่ดีและไม่ดี (ด้านบน)

ด้านบน

ลักษณะที่ดี

  • กล้ามเนื้อที่ไหล่นูน ทำให้เห็นส่วนอกเว้าเล็กน้อย
  • การกางของซี่โครงส่วนหน้าน้อย และค่อยๆขยายใหญ่ไปยังส่วนท้าย
  • ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบมาก(กระดูกเชิงกรานเลื่อนมาหน้ามากเท่าใดยิ่งดี) ทำให้โคตัวนี้มีส่วนสะโพกยาวและมีเนื้อส่วนนี้(ซึ่งราคาแพง) มาก
  • กระดูกก้นกบควรอยู่สูงและห่างจากก้นมากๆ เป็นผลให้มีเนื้อส่วนท้ายนี้มากซึ่งเนื้อส่วนนี้มีราคาแพงเช่นกัน

ลักษณะที่ไม่ดี

  • ส่วนไหล่และท้ายเล็กกว่าส่วนท้อง ไม่เห็นกล้ามเนื้อนูนขึ้นมาตรงไหล่
  • ส่วนท้องใหญ่กว่าส่วนไหล่และสะโพกซึ่งส่วนท้องเป็นส่วนที่มีเนื้อน้อยและราคาถูก
  • ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบน้อยโคตัวนี้จะมีสะโพกสั้นและมีเนื้อส่วนนี้ (ซึ่งราคาแพง) น้อย
  • กระดูกก้นกบอยู่ไม่ห่างก้นเป็นผลให้มีเนื้อส่วนนี้น้อย

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบลักษณะโคเนื้อที่ดีและไม่ดี(ด้านหน้าโค)

ด้านหน้า
ลักษณะที่ดี
  • กล้ามเนื้อที่ไหล่และโคนขาหน้านูนเด่น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการมีกล้ามเนื้อมากน้อยของโคตัวนั้น
  • กระดูกหน้าแข้งมีขนาดใหญ่เป็นตัวบ่งชี้ถึงขนาดของกระดูกโค(1)
  • เสือร้องไห้และเหนียงคอไม่ใหญ่นัก

ลักษณะที่ไม่ดี

  • ที่ไหล่และโคนขาหน้าเรียบเพราะมีกล้ามเนื้อส่วนนั้นน้อยและมีไขมันหุ้มมาก
  • กระดูกหน้าแข้งมีขนาดเล็ก แสดงว่าโคตัวนี้มีกระดูกและโครงร่างเล็ก
  • เสือร้องไห้เต็มกลม แสดงถึงการมีไขมันมาก ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ เพราะส่วนนี้มีราคาต่ำและยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าโคตัวนี้มีไขมันทั้งที่อยู่ในช่วงท้องและไขมันหุ้มซากมาก(2)

หมายเหตุ

  1. จากผลการวิจัยยืนยันได้ว่า ขนาดของกระดูกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณเนื้อโคตัวนั้น คือโคที่มีกระดูกใหญ่จะมีโครงร่างใหญ่และมีเนื้อมากด้วย เพราะกระดูกเป็นตัวเกาะยึดของกล้ามเนื้ออันที่จริงกระดูกมีราคาต่ำ แต่เพิ่มเนื้อของโคที่มีกระดูกใหญ่เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะมากกว่าการเพิ่มน้ำหนักกระดูก และพบว่าโคกระดูกใหญ่จะมีอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่าด้วย
  2. แต่โคที่มีไขมันมากเช่นนี้เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อในเมืองไทย เรียกว่า "วัวมัน"

การคัดเลือกโคจากลักษณะภายนอก

  • วิทยาการในการคัดเลือกโคได้มีการวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงจากความนิยมแบบเก่าไปมาก ดังนั้นก่อนที่จะเสนอแนะถึงวิธีการคัดเลือกโคจากลักษณะภายนอก จึงใคร่ขอเปรียบเทียบรูปทรงของโคในอุดมคติสมัยใหม่ (ดี) กับสมัยเก่า (ไม่ดี) และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจจึงอยากให้ทราบถึงการเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายโคเสียก่อน

เรียงลำดับจากด้านหัวโคไปจนถึงหางโคดังนี้

  1. ริมฝีปาก
  2. หน้า
  3. หน้าผาก
  4. หัว
  5. คอ
  6. เสือร้องไห้
  7. จุดหัวไหล่
  8. ไหล่
  9. อก
  10. หลัง
  11. ซี่โครง
  12. ลึงค์
  13. เชิงกราน
  14. สะโพก
  15. โคนหาง
  16. ก้นกับ
  17. ลูกมะพร้าว
  18. หาง
  19. พู่หาง
  20. ซอกขาหน้า
  21. ซอกขาหลัง
  22. โคนขาหน้า
  23. ข้อขาหลัง
  24. เข่า
  25. แข้ง
  26. ติ่งกีบ

การประมาณจำนวนลูก

  • หลังจากแม่โคให้ลูกแต่ละครั้ง เขาของแม่โคจะคอดเป็นรอยวงแหวน 1 วง ทั้งนี้เนื่องจากแร่ธาตุบางอย่างอันได้แก่ แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่แม่โคใช้ในการสร้างเขาในยามปกติถูกดึงมาใช้ในการสร้างน้ำนม เราจึงพอจะประมาณจำนวนลูกของแม่โคโดยการนับรอยคอดดังกล่าว นอกจากนี้ความถี่หรือห่างของรอยคอดยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสม่ำเสมอในการให้ลูกของแม่โคได้ด้วย คือถ้ารอยคอดแต่ละรอยห่างเท่าๆ กัน ก็แสดงว่าแม่โคตัวนั้นให้ลูกสม่ำเสมอแต่ถ้ารอยคอดถี่บ้าง ห่างบ้าง ก็แสดงว่าบางปีให้ลูก บางปีก็เว้น ดังนี้เป็นต้น
  • แม่โคที่เคยให้ลูกมาเพียง 1 - 2 ตัว จะสามารถเห็นรอยคอดได้ชัดเจน แต่ถ้าแม่โคเคยให้ลูกมาแล้วหลายตัว อาจจะสังเกตรอยคอดของลูกตัวแรก ๆ ได้ยาก เนื่องจากการสึกกร่อนของเขา ผู้ที่ยังไม่ชำนาญในเรื่องนี้อาจผิดพลาดได้

พันธุ์โค

โคในที่นี้หมายถึงโคเนื้อ สำหรับโคที่เลี้ยงกันในโลกนี้มี 2 ตระกูล คือ ตระกูลเมืองร้อน กับตระกูลเมืองหนาว1.โคเมืองร้อนมีตะโหนกใหญ่ โคเมืองร้อนเลี้ยงกันในทวีปเอเซียและอัฟริกา โคพื้นเมืองของไทยจัดเป็นโคตระกูลนี้ โคตระกูลนี้เลี้ยงง่าย ใช้งานได้ดี ทนต่อความร้อน ทนต่อโรคและแมลง แต่มีขนาดตัวค่อนข้างเล็ก โตช้า และลักษณะรูปร่างไม่เป็นโคเนื้อที่ดีนัก พันธุ์บรามัน ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์โคเนื้อที่เหมาะสำหรับเลี้ยงในแถบร้อน มีขนสีขาวทั้งตัว หนัง จมูก กีบ และพู่หางมีสีดำ ชื่อจริงของพันธุ์นี้คือ อเมริกันบราห์มัน2.โคตระกูลเมืองหนาว ไม่มีตะโหนกเลย โดยได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อโดยเฉพาะ ลักษณะรูปร่างเตี้ยและเป็นทรงสี่เหลี่ยม มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ มีอัตราการเจริญเติบโตมาก แต่เหมาะเลี้ยงกันเฉพาะในเมืองหนาวเท่านั้น อาทิเช่น พันธุ์ชาร์โรเลส์

หลักการเลือกซื้อโคมาเลี้ยง

ในสภาพการเลี้ยงโคของเมืองไทย โคตัวเมียจะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 15 - 18 เดือน และสามารถให้ลูกได้ดีไปจนอายุประมาณ 15 ปี ส่วนโคตัวผู้จะเริ่มใช้งานได้ดีเมื่ออายุ 2 ปี ไปจนถึงอายุประมาณ 10 ปี ดังนั้นการซื้อโคมาเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ก็ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าต้องการจะเลี้ยงไว้อีกนานแค่ไหน เหมาะสมกับราคาหรือไม่ ท่านอาจจะถูกหลอกขายโคแก่ว่าเป็นโคสาว หรือถูกหลอกว่าเป็นแม่โคที่ให้ลูกดีปีละตัว แต่อันที่จริงเป็นแม่โคที่ไม่เคยให้ลูกเลย หรือนานปีให้ลูกสักตัว หลักการง่าย ๆ ในการประมาณอายุโคคือสังเกตจากการงอกของฟัน และประมาณจำนวนลูกได้โดยดูรอยคอดของเขา ซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป นอกจากนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อโคพันธุ์มาเลี้ยง ควรจะแน่ใจว่าโคตัวนี้ไม่เป็นโรคแท้งติดต่อ

ประเภทผู้เลี้ยงโค

แบ่งผู้เลี้ยงโคออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.ผู้ผลิตลูกโค จะเลี้ยงฝูงแม่พันธุ์โค เพื่อผลิตลูกโคออกมาขายให้ผู้ที่จะนำไปขุนหรือนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป เกษตรกรประเภทนี้ต้องมีที่ดินค่อนข้างมากจึงมักจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งราคาที่ดินไม่แพงนัก

2.ผู้เลี้ยงโคขุน จะรับซื้อลูกโคหย่านม หรือลูกโคอายุหนึ่งปี จากผู้ผลิตลูกโคแล้วนำมาขุนให้ได้โคเนื้อที่มีคุณภาพดีส่งตลาด เกษตกรประเภทนี้ไม่ต้องมีพื้นที่มากนัก แต่ควรจะอยู่ในท้องที่ซึ่งหาซื้อวัตถุดิบ อาหารสัตว์ หรือธัญญพืชได้ง่ายในราคาถูก

3.ผู้ผลิตลูกโคและผู้เลี้ยงโคขุน คือเกษตรกรบางรายมีฝูงแม่พันธุ์ของตนเอง ผลิตลูกโคและคัดเลือกโคไว้ขุนเอง

การประมาณอายุโค

เมื่ออ้าปากโคเพียงเล็กน้อย ก็จะเห็นฟันหน้าของโค ซึ่งมีเฉพาะฟันล่างเท่านั้น จำนวน 4 คู่ ส่วนฟันบนของโคจะไม่มีฟันหน้าดังกล่าวนี้ เราสามารถใช้ในการประมาณอายุโคได้ เพราะฟันแต่ละคู่จะงอกขั้นมาตามอายุของมัน ส่วนฟันกรามก็งอกขึ้นมาตามอายุเช่นกันแต่เราไม่ใช้ในการประมาณอายุโค เพราะมองเห็นได้ยาก
ฟันโคมี 2 ชุด เช่นเดียวกับในคน ฟันชุดแรกที่งอกขึ้นมาแทน การงอกของฟัน ทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมจะเร่มงอกจากค่กลางก่อน เรียกว่า คู่ที่ 1 ส่วนคู่ที่ 2,3,4 จะอยู่ถัดออกไปทั้ง 2 ข้าง ตามลำดับ
เมื่อลูกโคคลอดออกมาจะมีฟันน้ำนมคู่ที่ 1 โผล่ออกมาจากเหงือกเล็กน้อย ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ฟันน้ำนมทั้ง 4 คู่ จะงอกขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ ฟันน้ำนมจะคงอยู่เช่นนี้จนโคอายุได้ประมาณ 2 ปี ฟันน้ำนมคู่แรกก็จะหลุดและมีฟันแท้ขึ้นมาแทน อีก 1 ปีต่อมา ฟันน้ำนมคู่ที่ 2 หลุดและมีฟันแท้คู่ที่ 2 ขึ้นมาแทน ทำนองเดียวกัน ในคู่ที่ 3 และคูที่ 4 เว้นระยะห่างกันคู่ละประมาณ 1 ปี สรุปเพื่อให้จำง่ายๆว่า อายุ เท่ากับจำนวนคู่ของฟันแท้ บวกกับอีก 1 ปี เช่น ฟันแท้ 3 คู่ อายุโคควรจะได้ประมาณ 3 บวก 1 เท่ากับ 4 ปี จะเป็น 4 ปี กับอีกกี่เดือนก็พอจะประมาณได้จากการสึกของฟันแท้คู่ที่ 3 ซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่งอกขึ้นมาหลังสุดว่าสึกไปมากน้อยแค่ไหน ถ้าโคมีฟันแท้ขึ้นครบ 4 คู่แล้ว แสดงว่าอายุอย่างต่ำ 5 ปี เมื่ออายุมากกว่า 5 ปี ก็จะเกิดปัญหาในการประมาณอายุ แต่ก็พอจะประมาณได้จากการสึกของฟัน ถ้าฟันคู่ที่ 4 ยังไม่สึกหรือสึกเพียงเล็กน้อย ก็แสดงว่าเพิ่งอายุได้ 5 ปีเศษ ๆ แต่ถ้าฟันสึกหมดถึงเหงือกก็แสดงว่าแก่มากแล้ว คือประมาณ 15 ปี เป็นต้น
ผู้ที่ยังไม่ชำนาญเมื่อเห็นฟันโคขึ้นครบ 4 คู่ อาจจะประมาณว่าอายุอย่างต่ำ 5 ปี ทั้งที่โคตัวนั้นอายุไม่ถึง 2 ปี ทั้งนี้เพราะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างฟันน้ำนมกับฟันแท้ เรื่องนี้ต้องสังเกตจากของจริง กล่าวคือ ฟันน้ำนมจะมีขนาดเล็กและเนื้อฟันดูไม่แน่นเหมือนฟันแท้ แต่ถ้าหากในโคตัวนั้นมีทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้อยู่ด้วยกัน ก็จะสามารถแยกกันได้ชัดเจนมาก เพราะฟันแท้โตกว่าฟันน้ำนม 3-4 เท่าทีเดียว อย่างไรก็ตามถ้ามีฟันขึ้นครบ 4 คู่ ไม่แน่ใจว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนมกันแน่ ก็ควรจะดูขนาดและหน้าตาของโคประกอบด้วยว่าเป็นโคอายุมากหรือโคอายุน้อย

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประเภทผู้เลี้ยงโค

แบ่งผู้เลี้ยงโคออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1.ผู้ผลิตลูกโค จะเลี้ยงฝูงแม่พันธุ์โค เพื่อผลิตลูกโคออกมาขายให้ผู้ที่จะนำไปขุนหรือนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป เกษตรกรประเภทนี้ต้องมีที่ดินค่อนข้างมากจึงมักจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งราคาที่ดินไม่แพงนัก
2.ผู้เลี้ยงโคขุน จะรับซื้อลูกโคหย่านม หรือลูกโคอายุหนึ่งปี จากผู้ผลิตลูกโคแล้วนำมาขุนให้ได้โคเนื้อที่มีคุณภาพดีส่งตลาด เกษตกรประเภทนี้ไม่ต้องมีพื้นที่มากนัก แต่ควรจะอยู่ในท้องที่ซึ่งหาซื้อวัตถุดิบ อาหารสัตว์ หรือธัญญพืชได้ง่ายในราคาถูก
3.ผู้ผลิตลูกโคและผู้เลี้ยงโคขุน คือเกษตรกรบางรายมีฝูงแม่พันธุ์ของตนเอง ผลิตลูกโคและคัดเลือกโคไว้ขุนเอง

แผนการผสมพันธุ์โค

การปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้พันธุ์โคที่ให้ผลิตผลสูงสุดในสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องผสมข้ามพันธุ์ไปมาเพื่อให้ได้พันธุ์โคตามต้องการในที่นี้ใช้โคพื้นฐาน 3 พันธุ์คือ โคพื้นเมือง,บราห์มัน และชาร์โรเลส์ ดังมีแผนการผสมพันธุ์ดังนี้
1 มีให้เลือกสองสาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล
2 การผสมพันธุ์อาจจะเริ่มจากขั้น ก. คือแม่โคพื้นเมือง หรือจะข้ามเป็นขั้น ข.เลยในกรณีที่มีแม่โคลูกผสมก็ได้
3 แนะนำให้ใช้การผสมเทียม เพราะจะได้พ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดีกว่าใช้พ่อจริง การผสมเทียมสามารถรับบริการได้ฟรีจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์
4 ได้พิสูจน์แล้วว่าลูกโคจากสายที่ 1 ขั้น ค. (25% พื้นเมือง, 25%บราห์มัน และ 50%ชาโรเลส์ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับประเทศไทย( มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน )
5 ลูกโคสายทีสอง ขั้น ค. (25พ.25ช.50บ.) มีคุณสมบัติดีพอสมควร แต่ยังมีความหวังที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้ จึงได้ทดลองผสมกับพ่อพันธุ์ 100% ชาร์โลเล่ส์อีกขั้นหนึ่ง แต่ยังไม่ทราบผลแน่ชัดว่าลูกที่เกิดขึ้นในขั้น ง. จะมีคุณสมบัติดีและเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ สมมุติว่าโคที่ได้ดังกล่าวเป็นที่พอใจ ก็จะทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธ์เพื่อให้เกิดโคพันธุ์แท้ในระดับเลือดดังกล่าวนี้ขึ้นอีกพันธุ์หนึ่งและให้ชื่อว่า "กำแพงแสน 2"
6 การผสมพันธุ์ขั้น ค.เป็นเพียงแผนงานที่วางไว้ล่วงหน้า แต่ยังไม่แนะนำให้ปฏิบัติ เพราะกำลังดำเนินการอยู่แผนผังการผสมพันธุ์โค
สายที่หนึ่ง
ก.100พ.(เมีย) x 100 บ.(ผู้)
ข.50พ. 50บ.(เมีย) x 100 ช.(ผู้)
ค.25 พ. 25 บ. 50 ช.(เมีย) x 25พ. 25บ. 50ช.(ผู้)
ง.25พ. 25บ. 50ช.
สายที่สอง
ก.100พ.(เมีย) x 100ช.(ผู้)
ข.50พ.50ช.(เมีย) x 100บ.(ผู้)
ค.25พ.25ช.50บ.(เมีย) x 100ช.(ผู้)
ง.12.5พ 12.5 บ. 62.5ช.(เมีย) x 12.5พ.25บ.62.5ช.(ผู้)
จ.12.5พ.25บ.62.5ช.
หมายเหตุ
พ. เท่ากับ พันธุ์พื้นเมือง
บ. เท่ากับ พันธุ์บราห์มัน
ช. เท่ากับ พันธุ์ชาโรเลส์