astore by amazon.com

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ในหลวงของเรา

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

clip โคคลอดลูก

แสดงระยะเวลาแต่ละขั้นตอนของการคลอดลูกในโค
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มกระวนกระวาย จนถึง ถุงน้ำคร่ำโผล่ ใช้เวลา 1 - 2 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 2 ถุงน้ำคร่ำโผล จนถึง ขาหน้าโผล่ ใช้เวลา 10-20 นาที
ขั้นตอนที่ 3 ขาหน้าโผล่ จนถึง จมูกโผล่ 10 - 20 นาที
ขั้นตอนที่ 4 จมูกโผล่ จนถึง หัวโผล่พ้นจากช่องคลอด 5-10 นาที
ขั้นตอนที่ 5 หัวโผล่พ้นจากช่องคลอด จนถึง ลูกหล่นถึงพื้น 5-10 นาที
ขั้นตอนที่ 6 ลูกหล่นถึงพื้น จนถึง รกหลุดออกมา ใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง
หมายเหตุ รกควรจะตามออกมาหรือหลุดออกมาภายใน 6 ชั่วโมง หลังคลอดเท่านั้น ถ้าหากเกิน 12 ชั่วโมงแล้วยังไม่ออก แสดงว่ารกค้างต้องตามสัตวแพทย์แก้ไขต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

แผนผังฟาร์ม

การวางแผนผังฟาร์มว่าควรจะให้สิ่งก่อสร้างใดอยู่ที่ไหนนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละฟาร์ม อย่างไรก็ตามมีหลักการที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาดังนี้
1.ควรตัดถนนให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการทำงานและได้ขนาดแปลงหญ้าที่เท่า ๆ กัน
2.คอกพักแม่พันธุ์และคอกขุนควรอยู่ใกล้สายตาเจ้าของ คือ อยู่ไม่ห่างจากสำนักงานมากนัก
3.คอกหย่านมควรอยู่ห่างจากคอกพักแม่พันธุ์ขนาดที่ไม่ให้ได้ยินเสียงร้องเรียกกัน
4.คอกพักโคคัดทิ้งหรือโคเตรียมจำหน่าย ควรอยู่ห่างจากคอกพักแม่พันธุ์
5.คอกคัดควรอยู่ใกล้คอกแม่พันธุ์และคอกขุน
6.หลุมหญ้าหมักควรอยู่ไม่ไกลจากคอกโคที่จะใช้หญ้าหมักนั้น
7.แปลงหญ้าที่อยู่ใกล้ๆ คอกพักและคอกขุนควรจะปลูกหญ้าชนิดที่ตัดสดให้โคกิน ส่วนแปลงหญ้าที่อยู่ห่างไกลควรปลูกหญ้าประเภทที่ให้สัตว์แทะเล็ม


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

วิธีปฏิบัติในการคัดเลือกโคจากลักษณะภายนอก

วิธีปฏิบัติในการคัดเลือกโคจากลักษณะภายนอก
ขั้นแรก พิจารณาลักษณะทั่วๆ ไปแล้วค่อยๆ พิจารณารายละเอียดของจุดต่างๆทั้งจากด้านหน้า,ด้านข้างและด้านท้ายของตัวโคดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในการคัดเลือกโค ขั้นตอนนี้ควรยืนห่างจากตัวโคประมาณ 6-7 เมตร หลังจากนั้นจึงเข้าใกล้ตัวโค เอามือสัมผัสและกดดูตามส่วนต่างๆ
ตำแหน่งและการวางตัวของขาหลังนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก โคที่ดี ถ้าลากเส้นตรงจากกระดูกก้นกบลงมาตั้งฉากกับพื้น เส้นตรงนี้ควรแตะกับด้านหลังของเข่า (hock)และเกือบแตะกับติ่งกีบ (dew claw) ถ้าตำแหน่งของเท้าไปอยู่ข้างหน้ามาก จะมีปัญหาเมื่อโคเดินขึ้นเนินและตอนผสมพัน ในทางตรงข้ามถ้าตำแหน่งของเท้าไปอยู่ข้างหลังมากเกินไป จะทำให้การรับน้ำหนักไม่ดี ซึ่งอาจจะทำให้เอ็นและพังผืดฉีกขาดได้ การวางตัวของขาโคดังกล่าวนี้มักจะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ด้วย สำหรับโคเพศผู้ที่ต้องการนำไปใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรจะพิจารณาเกี่ยวกับลูกอัณฑะด้วยกล่าวคือลูกอัณฑะควรมีขนาดใหญ่พอสมควร ลูกอัณฑะ 2 ข้าง ควรมีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และห้อยยานพอเหมะคือให้เห็นส่วนขั้วอัณฑะเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับห้อยยานมากจนแกว่งไปมาขณะโคเดิน ส่วนลูกอัณฑะที่หดสั้นติดกับท้องหรือมีบางส่วนอยู่ในช่องท้องนั้น ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะตัวอสุจิที่ถูกสร้างขึ้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะอุณหภูมิของลูกอัณฑะเมื่ออย่ในช่งท้องจะสูงกว่าเมื่อห้อยอยู่นอกร่างกาย

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550

ลักษณะดีและไม่ดีด้านหลัง(ท้าย)

ลักษณะดีด้านหลัง(ท้าย)
- กล้ามเนื้อส่วนบั้นท้ายหนาและลึกมองเห็นกล้ามเนื้อขยับเมื่อโคเคลื่อนที่รูปทรงของสะโพกเป็นวงค่อนข้างกลม
- ขาทั้งสองใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันแต่ตั้งตรง
- ซอกระหว่างขาหลังทั้งสองข้างไม่เต็ม แสดงว่ามีกล้ามเนื้อทำให้โคต้องยืนขาห่างจากกัน
ลักษณะไม่ดีด้านหลัง(ท้าย)
- กล้ามเนื้อส่วนบั้นท้ายไม่นู ส่วนสะโพกแคบ รูปทรงของสะโพกเป็นวงรี
- ขาเล็กและยืนตีบเข้าหากัน
- ซอกระหว่างขาหลังทั้งสองเต็มไปด้วยไขมันซึ่งเหลว ทำให้โคยืนขาตีบเข้าหากัน

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550

ลักษณะดี(ด้านข้าง)

ลักษณะดี(ด้านข้าง)
- ไม่มีส่วนที่ห้อยยานเกินความจำเป็นที่คอ เสือร้องไห้ไม่นูนใหญ่
- กล้ามเนื้อโรนขานูนเด่น กระดูกหน้าแข้งยาวใหญ่
- ส่วนซอกขาหลัง เว้าขึ้นเล็กน้อยแสดงว่าไม่มีไขมันหุ้มมากนัก
- ขาตรง ตั้งฉากกับพื้นทั้งขาหน้าและและขาหลัง
- ส่วน ไม่บวมนูน ซึ่งแสดงว่ามีไขมันมาก
- แนวสันหลังตรงและยาวหรืออีกนัยหนึ่งคือลำตัวยาวและลำตัวไม่ลึกนัก
ลักษณะไม่ดี(ด้านข้าง)
- มีส่วนห้อยยานที่คอ เกินความจำเป็น เสือร้องไห้นูนใหญ่
- ไม่เห็นกล้ามเนื้อโคนขา กระดูหน้าแข้งเล็ก
- ซอกขาหลัง เต็มเพราะมีไขมันมาก
- ขาหลังโค้ง
- ส่วนเนื้อย้อยที่โคนขาหลังบวมนูน ซึ่งเต็มไปด้วยไขมัน
- แนวสันหลังสั้น ลำตัวสั้นแต่ลึกมาก ซึ่งปกติส่วนครึ่งล่างของกลางลำตัวโคจะมีเนื้อน้อยและราคาต่ำ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบลักษณะโคเนื้อที่ดีและไม่ดี (ด้านบน)

ด้านบน

ลักษณะที่ดี

  • กล้ามเนื้อที่ไหล่นูน ทำให้เห็นส่วนอกเว้าเล็กน้อย
  • การกางของซี่โครงส่วนหน้าน้อย และค่อยๆขยายใหญ่ไปยังส่วนท้าย
  • ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบมาก(กระดูกเชิงกรานเลื่อนมาหน้ามากเท่าใดยิ่งดี) ทำให้โคตัวนี้มีส่วนสะโพกยาวและมีเนื้อส่วนนี้(ซึ่งราคาแพง) มาก
  • กระดูกก้นกบควรอยู่สูงและห่างจากก้นมากๆ เป็นผลให้มีเนื้อส่วนท้ายนี้มากซึ่งเนื้อส่วนนี้มีราคาแพงเช่นกัน

ลักษณะที่ไม่ดี

  • ส่วนไหล่และท้ายเล็กกว่าส่วนท้อง ไม่เห็นกล้ามเนื้อนูนขึ้นมาตรงไหล่
  • ส่วนท้องใหญ่กว่าส่วนไหล่และสะโพกซึ่งส่วนท้องเป็นส่วนที่มีเนื้อน้อยและราคาถูก
  • ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบน้อยโคตัวนี้จะมีสะโพกสั้นและมีเนื้อส่วนนี้ (ซึ่งราคาแพง) น้อย
  • กระดูกก้นกบอยู่ไม่ห่างก้นเป็นผลให้มีเนื้อส่วนนี้น้อย